Home Shopping Contact Us About Me

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วรรณยุกต์ภาษาไทย

วรรณยุกต์ภาษาไทย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วรรณยุกต์ในภาษาไทย นับเป็นเสียงดนตรีตามตำราภาษาไทยสมัยโบราณ โดยแบ่งออกเป็น 5 เสียง ได้แก่ สามัญ เอก โท ตรี และจัตวา และมีเครื่องหมายกำกับเสียงวรรณยุกต์ ซึ่งเรียกว่า "วรรณยุกต์" ด้วยเช่นกัน โดยที่เครื่องหมายวรรณยุกต์ อาจไม่ได้บ่งบอกถึงเสียงวรรณยุกต์นั้นเสมอไป เว้นแต่เมื่อกำกับคำเป็น ที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรกลาง
เสียงวรรณยุกต์ไทยตามหลักภาษาศาสตร์ แบ่งได้ดังนี้
• เสียงสามัญ (ระดับเสียงกึ่งสูง-กลาง)
• เสียงเอก (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ)
• เสียงโท (ระดับเสียงสูง-ต่ำ)
• เสียงตรี (ระดับเสียงกึ่งสูง-สูง)
• เสียงจัตวา (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ-กึ่งสูง)
รูปวรรณยุกต์
เครื่องหมายวรรณยุกต์ในภาษาไทย มี 4 รูป ดังนี้
ไม้เอก ( -่ ), ไม้โท ( -้ ), ไม้ตรี ( -๊ ) และ ไม้จัตวา ( -๋ )
อย่างไรก็ตาม ในจารึกสมัยโบราณ เช่น ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง มีเครื่องหมายวรรณยุกต์เพียง 2 รูป คือ ไม้เอก ( | ) และไม้โท (+) เช่น น๋อง (น้อง), ห๋า (ห้า)
การผันเสียงวรรณยุกต์
โดยทั่วไปเสียงพยางค์หนึ่งในภาษาไทย สามารถผันได้ 5 เสียงวรรณยุกต์ แต่ในภาษาเขียน จะมีกฎเกณฑ์การผันที่ตายตัว ดังนี้
หมู่อักษร - คำเป็นคำตาย เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา
อักษรสูง คำเป็น - ข่า ข้า - ขา
อักษรสูง คำตาย - ขับ ขั้ก - -
อักษรกลาง คำเป็น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า
อักษรกลาง คำตาย - กาบ ก้าบ ก๊าบ -
อักษรต่ำ คำเป็น นา - น่า น้า -
อักษรต่ำ คำตาย - - คั่ก คัก -
อักษรต่ำและอักษรสูงไม่สามารถผันให้ครบ 5 เสียงได้ จึงมักจะใช้อักษรเสียงเดียวกันจากอีกหมู่หนึ่งมาใช้เป็นอักษรนำ โดยมีอักษรสูงนำ (ยกเว้นอักษร อ ซึ่งเป็นอักษรกลาง สามารถนำ อักษร ย ได้) เช่น นา หน่า น่า น้า หนา, มี หมี่ มี่ มี้ หมี
ทั้งนี้ ไม่นิยมใช้วรรณยุกต์ตรี และจัตวากำกับอักษรต่ำ เนื่องจากสามารถใช้อักษรสูงนำ เช่น หมี หมา หญิง (ไม่ใช่ มี๋, ม๋า, ยิ๋ง) เป็นต้น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ15 กรกฎาคม 2553 เวลา 21:54

    ขอบคุณคะ ที่ให้ข้อมูล เพราะต้องเก็บไว้สอนลูกคะ

    ตอบลบ